ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
ตราสัญลักษณ์
ประวัติโรงเรียน
การพัฒนาประเทศในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ด้านการศึกษา เพราะผู้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจะเป็นกำลัง สำคัญในการพัฒนาประเทศ การศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและ เยาวชนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องจัดการศึกษาที่มี คุณภาพให้ทั่วถึงคลอบคลุมทุกบริบทและเท่าเทียมกันดังที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 ได้บัญญัติความมุ่งหมายและหลักการการศึกษาของชาติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความภูมิใจในความเป็นไทย มีความรู้อันเป็นสากลทั้งนี้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน” และในหมวด5การบริหารและการจัดการศึกษา ส่วนที่1 การบริหารและการ จัดการศึกษาของรัฐมาตรา31 ให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการ ศึกษาทุกระดับและทุกประเภท การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนด นโยบายแผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผล การจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
จากหลักการข้างต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง จัดการศึกษาและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามกว่าร้อยละ 75 (แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552 – 2555 : ม.ป.ป.) มี บริบทด้านวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย และอัตลักษณ์แตกต่างจากประชากรส่วน ใหญ่ในประเทศ ฉะนั้นการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าวจึงต้องยึด หลักการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนที่มีลักษณะเฉพาะบนพื้นฐานของ หลักศาสนาที่เชื่อมโยงหลักการทางศาสนาเข้ากับวิชาสามัญและวิชาชีพ ที่ยึดผู้เรียนและ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยให้มีการบริหารจัดการในลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากพื้นที่ อื่น (กระทรวงศึกษาธิการ : 2548) ซึ่งแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2557 – 2558 ยังได้กำหนดประเด็นการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นให้เป็นไป ตามอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อให้การศึกษาในจังหวัดชายแดน ภาคใต้มีคุณภาพสูงขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ : 2556)
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 – 2557 ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ว่า ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ภาษา ศิลปะ พหุวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เป็นคนดี มีคุณธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักศาสนา มีศักยภาพด้านภาษาอย่างหลากหลาย มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้วยการพัฒนาหลักสูตร การศึกษา รวมถึงพัฒนาบุคลากร พัฒนาสื่อและเทคโนโลยี พัฒนาอุทยานการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง
วิทยาลัยอิสลามศึกษาในฐานะหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการจัดการเรียนการสอนและเผยแผ่วิชาการทางด้านอิสลามศึกษา ที่สอดคล้องกับความ ต้องการของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ และมีพันธกิจในการพัฒนาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางเครือข่ายทางการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาการอิสลามในระดับภูมิภาค
เพราะฉะนั้นวิทยาลัยอิสลามศึกษาจึงได้เล็งเห็นความจำเป็นของการศึกษาที่มีคุณภาพ
"โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลามต้นแบบที่มีความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลาม มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้ มีความเป็นผู้นำและดำรงชีวิตตามวิถีอิสลาม"
1
เป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลาม
2
ผลิตนักเรียนที่มีความเป็นผู้นำ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมและดำรงชีวิตตามวิถีอิสลาม
3
จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่
4
พัฒนาระบบการบริหารและบุคลากรให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
5
จัดแหล่งเรียนรู้รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่สร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้